



1. ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา
รัฐไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เจริญขึ้นมาจากราชอาณาจักรละโว้ และอาณาจักรสุพรรณภูมิ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 ภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักลงไปทางใต้ ยังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา (Ayothaya) หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร นครใหม่นี้ถูกขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้ พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยังอินเดียและได้ลอกเลียนแบบฝังเมืองอโยธยามาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการสถาปนาอยุธยา
1. ความอุดมสมบูรณ์ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำ ป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม การประมง การคมนาคม และการค้าขาย
2. เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางน้ำ เดินทางไปยังหัวเมืองภาคเหนือ ใช้แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางออกสู่ทะเล เพื่อค้าขายและติดต่อกับต่างประเทศ
3. ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการบุกรุกของข้าศึก ซึ่งสภาพพื้นที่เป็นเกาะมีแม่น้ำและลำคลองล้อมรอบ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมภายนอกข้าศึกไม่สามารถตั้งทัพต่อไปได้
4. การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจ และอาณาจักรขอมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต
5.พระมหากษัตริย์มีพระปรีชาสามารถ และมีกองกำลังทหารที่ดี ประชาชนอาศัยในบริเวณพระนครจำนวนมาก เมื่อเกิดสงครามสามารถเรียกเกณฑ์ไพร่พลได้ทันที
6. กรุงศรีอยุธยามีทรัพยากรมาก ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์
7. เมืองสุพรรณบุรี เมืองละโว้ ร่วมมือสนับสนุนรวมกันเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจเข้มแข็งได้


